ม.นเรศวร เปิดเวทีประชุมวิชาการระดับชาติ “นเรศวรวิจัยและนวัตกรรม” ครั้งที่ 18 “Steering Towards Frontier University: Challenges and Foresight”

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2565 ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา นายกสภามหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการระดับชาติ นเรศวรวิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 18 “Steering Towards Frontier University: Challenges and Foresight” ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี  โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นเวทีในการเผยแพร่ผลงานวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิจัย และบุคลากรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย สำหรับในปีนี้กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-26 กรกฎาคม 2565 รูปแบบ Hybrid: Online & Onsite ณ อุทยานองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร 

       รองศาสตราจารย์ ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดเผยว่า  “เวทีนเรศวรวิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 18 นี้ จะเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้เกิดการสร้างผลงานวิจัย การถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมให้เกิด Research Ecosystem ที่จะพัฒนาการวิจัย นำผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ และการต่อยอดผลงานวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาค: สร้างงานวิจัยชั้นแนวหน้าที่มีความหลากหลายตามศักยภาพของนักวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคและประเทศ โดยเน้นกลไก University Enterprise Collaboration  และ  International Linkage เพื่อมุ่งสู่การเป็น “มหาวิทยาลัย เพื่อสังคมของผู้ประกอบการ” (University for Entrepreneurial Society) 

       และในโอกาสนี้ มหาวิทยาลัยนเรศวรได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิระดับประเทศ ร่วมแสดงปาฐกถาพิเศษ บรรยายพิเศษ และเสวนาพิเศษ ประกอบด้วย ปาฐกถาพิเศษเชิงนโยบาย หัวข้อ “Steering Towards Frontier University: Challenges and Foresight”  โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ (ประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม) การบรรยายพิเศษ หัวข้อ “การพลิกโฉมมหาวิทยาลัยกับการสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด” โดย ศาสตราจารย์ ดร.พีระพงศ์ ทีฆะสกุล (ประธานอนุกรรมการด้านการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย คณะกรรมการการอุดมศึกษา)  และ Special Talk ในหัวข้อที่น่าสนใจ อาทิ  

       – หัวข้อ “ทิศทางแห่งอนาคตนวัตกรรมอาหารโลก” โดย ดร.อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ รักษาการผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 

       – หัวข้อ “นวัตกรรมการแพทย์และสาธารณสุข ขั้นแนวหน้าของโลก” โดย รองศาสตราจารย์ นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย 

       – หัวข้อ “เทรนด์นวัตกรรมพลังงานแห่งโลกอนาคต” โดย ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและธุรกิจใหม่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 

       – หัวข้อ “เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ผสานศาสตร์และศิลป์สู่โอกาสใหม่ของการแข่งขันโลก”  โดย ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ อุปนายกสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย 

       – หัวข้อ “Quantum Computing พลิกโฉมระบบนิเวศธุรกิจดิจิทัลแห่งอนาคต” 

       โดย ดร.จิรวัฒน์ ตั้งปณิธานนท์ CEO & Co-founder ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร Quantum Technology Foundation Thailand และการเสวนา หัวข้อ “เจาะลึก 3 PMU กับการให้ทุนวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงของประเทศ” และ หัวข้อ “สภาอุตสาหกรรมสะพานเชื่อมงานวิจัยมหาวิทยาลัยสู่ภาคเอกชน”  

        นอกจากนี้ ภายในงานจัดให้มีการนำเสนอผลงานวิจัยและผลงานวิทยานิพนธ์ รวมทั้งสิ้น 114 ผลงาน แบ่งเป็นOral Presentation 83 ผลงาน และ Poster Presentation 31 ผลงาน ครอบคลุมทั้งกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลุ่มวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พร้อมนี้จัดให้มีบูธนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมเด่นหน่วยงานมหาวิทยาลัยนเรศวร บูธแสดงภารกิจและผลงานเครือข่ายระบบวิจัยของประเทศ บูธหน่วยงานภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชน บูธแหล่งทุนสนับสนุนการต่อยอดผลงานวิจัยและนวัตกรรม กิจกรรม Business Matching  การให้คำแนะนำคำปรึกษาการจดทรัพย์สินทางปัญญา พร้อมทั้งร่วมรับฟังการ PITCHING การเพิ่มโอกาสการจับคู่ธุรกิจ  

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *